การศึกษาวิเคราะห์มหาธรรมกายเจดีย์

การศึกษาวิเคราะห์มหาธรรมกายเจดีย์ตามทฤษฎีหลักสำคัญทางด้านเจดีย์ศึกษา

บทนำ

    พระสถูปเจดีย์เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์เคียงคู่พระพุทธศาสนามาตั้งแต่โบราณกาล ถือเป็นพุทธสถานอันประเสริฐ สามารถยกระดับสภาวะจิตใจของบุคคลผู้ได้พบเห็น แสดงความเคารพกราบไหว้บูชาด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ใจย่อมบริสุทธิ์ละเอียดอ่อนขึ้นสู่สภาวธรรม คือ พระนิพพาน บุคคลใดมุ่งหวังความหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารอันเป็นคุกกักขังมนุษย์ รวมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอันหาเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งเบื้องปลายมิได้ บุคคลนั้นพึงควรกระทำความเลื่อมใสและนอบน้อมพระสถูปเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง

    มหาธรรมกายเจดีย์เป็นพระสถูปเจดีย์องค์หนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในพระพุทธศาสนา ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินของวัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นผลบุญอันยิ่งใหญ่ที่บังเกิดแก่ผู้ร่วมสถาปนา และเป็นผลงานที่มีคุณค่าสูงส่งต่อพระพุทธศาสนา พร้อมกันนั้นเหล่าพุทธศาสนิกชนได้ยังจิตน้อมนำถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ได้ตรัสรู้ล่วงมาแล้วมากกว่าของเม็ดทรายในท้องพระมหาสมุทรทั้งสี่ของมงคลจักรวาลนี้อีกด้วย

    มหาธรรมกายเจดีย์เป็นสถานที่ที่ได้รับการเคารพสักการบูชาจากพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้มีจิตมุ่งมั่นในการสร้างบุญบารมี และเลื่อมใสศรัทธาคำสอนในพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายจากทุกสารทิศทั่วโลก แต่ถึงกระนั้นก็ตามยังมีพุทธศาสนิกชนด้วยกันเองบางส่วน ยังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงพอ เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงสัณฐานของมหาธรรมกายเจดีย์ ทั้งยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่ามีลักษณะคล้ายกับจานบินของมนุษย์ต่างดาว อาจด้วยคุ้นเคยจากประสบการณ์ที่ได้รับชมจากภาพยนตร์ของชาวตะวันตก อีกทั้งในแวดวงของนักวิชาการและผู้สนใจทั่วไปในประเด็นสำคัญที่เป็นแง่ลบ เช่น มหาธรรมกายเจดีย์นี้ผิดแปลกไปจากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ และผิดจากหลักเกณฑ์ของการสร้างพระสถูปเจดีย์ที่เคยมีการสร้างมาในอดีตบ้างหรือไม่ อย่างไร

    พระสถูปเจดีย์ โดยเฉพาะมหาธรรมกายเจดีย์นี้เปรียบได้กับพระราชฐานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะมีการสร้างองค์แทนพระวรกายของพระพุทธเจ้าด้วยพระพุทธรปกว่าล้านองค์ประดิษฐานอยู่ ณ พื้นที่อันบริสุทธิ์แห่งนี้ การทำร้าย การย่ำยีปรามาสเพียงครั้งเดียวย่อมเท่ากับได้กระทำความไม่เคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั่วทั้งอายตนนิพพาน ซึ่งจะมีผลวิบากกรรมต่อเนื่องอย่างจะนับประมาณมิได้ ถ้าหากมีการนิ่งเฉยปล่อยให้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนี้ผ่านไปนานวันเข้า ก็ยิ่งจะมีแต่ผลเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคลผู้นั้นเอง และยังมีผลต่อพระพุทธศาสนาโดยรวมเป็นเหตุให้ความเลื่อมใสศรัทธานั้นสั่นคลอน ใจผู้คนที่ได้ยินได้ฟังหากไม่ได้พิจารณาตามให้ละเอียดถี่ถ้วน ย่อมเกิดความเศร้าหมองและถอยห่างออกจากพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ความสุขความเจริญในชีวิตของผู้คนในสังคมก็ย่อมลดน้อยถอยตามไปด้วยเช่นกัน

    จากสาเหตุดังที่ได้กล่าวมานั้นจึงมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ทำการศึกษาว่า ทำไมจึงต้องมีการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ มีประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร และมหาธรรมกายเจดีย์นี้สามารถถือได้ว่าเป็นเจดีย์ได้หรือไม่ รูปร่างเหมือนหรือแตกต่างกันไปจากหลักการสร้างพระสถูปเจดีย์ดั้งเดิมอย่างไร โดยจะทำการศึกษาความเกี่ยวเนื่องตามพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นหลัก พร้อมทำการพิจารณาสัญลักษณ์ร่วมสำคัญของพระสถูปเจดีย์องค์ดั้งเดิมทั่วไป เช่น สาญจิเจดีย์ บรมพุทโธเจดีย์ เป็นต้น กับมหาธรรมกายเจดีย์ว่ามีความสอดคล้องกันตามทฤษฎีหลักสำคัญทางด้านเจดีย์ศึกษา อันได้แก่ สัณฐานตามพื้นที่ของพระสถูปเจดีย์การกำหนดเขตพิธีกรรมของแผนผังพระสถูปเจดีย์การแผ่กระจายพระวรกายของพระพุทธเจ้าแผนผังพระสถูปเจดีย์ที่เป็นมณฑลอาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์สัญลักษณ์แห่งเสาแกนสัญลักษณ์แห่งโดม และการใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับโครงสร้าง เป็นต้น ตามทฤษฎีด้านเจดีย์ศึกษาของ Prof. Dr. Adrian Snodgrass ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญ จนได้รับการยอมรับความเป็นหนึ่งในแวดวงนักวิชาการทางด้านเจดีย์ศึกษาในระดับสากล นักเจดีย์วิทยาจึงต้องนำทฤษฎีเหล่านี้มาอ้างอิงเป็นหลักเสมอ

1.     นิยาม ความหมาย  และความสำคัญของสถูปเจดีย์ทั่วไป

    สถูป ตามรูปศัพท์เป็นคำที่แผลงมาจากคำในภาษาบาลีว่า “ถูป” (Thupaและคำในภาษาสันสกฤตว่า “สตูป” (Stupaหมายถึง เนินดินหลุมฝังศพรูปครึ่งวงกลม อันเกิดจากประเพณีดั้งเดิมของชาวอินเดีย ซึ่งหลังจากฝังศพแล้วก็จะพูนดินไว้เหนือหลุมเพื่อเป็นหลักหมายสำคัญ (ประภัสสร์ ชูวิเชียร, 2554 : 6)

    สถูป ความหมายทั่วไป คือ โดม เนิน โคก กองหินที่ระลึก ฮวงซุ้ย เจดีย์ ที่ทำหรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของบุคคลสำคัญ หรือเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ท่านผู้นั้น ส่วนในคำวัดนั้นใช้หมายถึงเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระอรหันต์ หรือพระเถระผู้ทรงคุณธรรมระดับสูง หรือบุคคลที่สำคัญที่เป็นถูปารหบุคคล คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เพื่อกราบไหว้บูชาหรือเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้นั้น (พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), 2548 : 982)

    เจดีย์ ตามรูปศัพท์มาจากคำในภาษาบาลีว่า “เจติย” (Cetiyaหรือ คำในภาษาสันสกฤตว่า “ไจติย” (Caitiyaหมายถึง สิ่งที่เป็นรำลึกถึง โดยได้บ่งถึงรูปแบบของสิ่งนั้น ซึ่งอาจเป็นสถานที่หรือก่อสร้างใดๆ ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงสถานที่รำลึกถึงพระพุทธองค์ เช่น สังเวชนียสถานในประเทศอินเดียเละเนปาล เป็นต้น (ประภัสสร์ ชูวิเชียร, 2554 : 7)

    เจดีย์ ความหมายโดยทั่วไป แปลว่า สิ่งที่พึงบูชา ใช้ใน ความหมาย คือ ประการแรกหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่มีรูปทรงคล้ายลอมฟางหรือโอคว่ำ มียอดแหลม ภายในบรรจุสิ่งที่นับถือ เช่น พระธาตุ ส่วนใหญ่สร้างด้วยอิฐหรือคอนกรีตเพื่อความแข็งแรงทนทาน เช่น เจดีย์ทั่วไปตามวัดต่างๆ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ประการที่สองหมายถึง สิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นสิ่งที่พึงบูชาหรือพึงเคารพในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นของสูง เรียกว่าพุทธเจดีย์   (พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), 2548 : 174)

    คำว่า “สถูป” จึงใช้เรียกสิ่งก่อสร้างที่เป็นเนินดินเพื่อฝังศพหรืออัฐิธาตุ แม้มีวิวัฒนาการเป็นรูปร่างอื่นๆ ไปบ้าง แต่ยังคงเรียกว่าสถูปอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนคำว่า “เจดีย์” เป็นการสร้างขึ้นเพื่อการระลึกถึง อาจเป็นสถานที่ สิ่งของ สิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งเป็นนามธรรม เช่น หลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับแสดงความระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการเรียกรวมเป็น “สถูปเจดีย์” จึงมีความหมายรวม เพราะว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุ และยังเป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ในคราวเดียวกัน หรือสามารถเรียกได้ว่าเป็น “พระพุทธเจดีย์”

    พระพุทธเจดีย์นั้นจึงเป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหลายพึงบูชา เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเป็นเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีด้วยกัน ประเภท คือ

            (1) ธาตุเจดีย์

            (2) บริโภคเจดีย์

            (3) ธรรมเจดีย์

            (4) อุทเทสิกเจดีย์ (พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), 2548 : 681)

    นอกจากพระพุทธเจดีย์จะมีการพัฒนารูปร่างอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว ภายในยังประดิษฐานสิ่งที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระธรรมคำสั่งสอน อันพุทธศาสนิกทุกท่านให้ความเคารพบูชาอย่างสูงส่ง และยังกล่าวได้ว่า พระพุทธเจดีย์ทุกรูปทรงต่างล้วนเป็นรูปธรรมในแต่ละแง่มุมของหลักพุทธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการสร้างพระพุทธเจดีย์จะเป็นการลงหลักปักรากฐานทางพระพุทธศาสนาให้หนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น และยังเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระธรรมคำสอนอันทรงคุณค่านั้นไปยังผู้คนในวงกว้างออกไปได้อีก

2.     นิยาม ความหมาย  และความสำคัญของมหาธรรมกายเจดีย์

    เนื่องจากทุกศาสนาในโลกนี้ จะเป็นศาสนาได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญอยู่อย่างน้อย ประการด้วยกัน ดังนี้

            (1) ศาสดา

            (2) ศาสนธรรม

            (3) ศาสนบุคคล

            (4) ศาสนิกชน

            (5) ศาสนสถาน

            (6) ศาสนาพิธี

    ภายหลังจากองค์ศาสดาได้ล่วงลับไปแล้ว สิ่งที่ยังเป็นฐานะตัวแทนของศาสดาในศาสนาต่างๆ คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นศาสนสถาน ยังคงเป็นสิ่งแทนตัวศาสดาอยู่ เพื่อให้ศาสนิกชนของแต่ละศาสนานั้นได้ทำการตรึกระลึกถึงคุณงามความดีในองค์ศาสดาของตน ตลอดจนได้มีโอกาสศึกษาศาสนธรรมอันเป็นหัวใจของศาสนานั้น โดยผ่านการนำของศาสนบุคคลด้วยศาสนาพิธีกรรมต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งพระพุทธศาสนาก็มีองค์ประกอบหลักสำคัญดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน ศาสนสถานที่พบมากในพระพุทธศาสนาก็คือ พระสถูปเจดีย์หรือพระพุทธเจดีย์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านมาเนิ่นนานมากกว่าสองพันห้าร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ทว่าความเป็นมา ความหมาย จุดกำเนิด ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการสร้างองค์พระพุทธเจดีย์โดยแท้จริงนั้น จากการศึกษาทั้งทางด้านหลักพุทธธรรมประกอบกับทางด้านพุทธศิลป์พบได้ว่า สิ่งก่อสร้างเดียวเท่านั้นที่สร้างโดยมนุษย์ และเป็นการรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นพระพุทธศาสนาเอาไว้คือ “พระพุทธเจดีย์”

    เมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์และความหมายของพระสถูปเจดีย์ทั่วไปแล้ว ก็สามารถเรียกมหาธรรมกายเจดีย์ได้ว่าเป็น “พระสถูปเจดีย์” หรือ “พระพุทธเจดีย์”ด้วยเช่นกัน เพราะหมายรวมถึงการเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตรึกระลึกถึงพระพุทธองค์เป็นสิ่งที่ควรพึงเคารพบูชากราบไหว้ เพราะเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นในปลายปี พ.. 2537 นับว่าเป็นมหาเจดีย์แห่งพระรัตนตรัยเป็นศูนย์กลางการรวมใจ และการประพฤติปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เป็นการสร้างสันติภาพโลกให้แก่มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง โดยการพัฒนาสันติสุขให้เกิดภายในใจของแต่ละบุคคลก่อนอันดับแรกด้วยความบริสุทธิ์ของทุกคน ที่เกิดขึ้นจากใจที่หยุดนิ่งด้วยการทำสมาธิ (Meditation) นั่นเอง เป็นการแก้ปัญหาสังคมในปัจจุบันที่ถือได้ว่าตรงจุดที่สุด ดังนั้นพระเทพญาณมหามุนี (พระเดชพระคุณหลวงพ่อธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีความปารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรวมผู้คนให้ได้มาประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ สถานแห่งนี้อย่างน้อยหนึ่งล้านคน จึงจำเป็นต้องมีพุทธสถานเพื่อรองรับผู้คนจำนวนเป็นเรือนล้านนั้นด้วย

    นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2537 ถึงวันที่ มกราคม 2538 เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาได้เดินทางมารักษาอุโบสถศีล ประพฤติปฏิบัติธรรมถือธุดงควัตร ร่วมกันอธิษฐานจิตให้แผ่นดินบริเวณที่จะสร้างมหาธรรมกายเจดีย์มีความสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์เกิดขึ้นตามลำดับต่อมาดังนี้

                    - วันที่ กันยายน 2538 ตอกเสาเข็มต้นแรกมหาธรรมกายเจดีย์

                    - วันที่ กันยายน 2539 เทคอนกรีตฐานรากมหาธรรมกายเจดีย์

                    - วันที่ 26 กันยายน 2539 ตอกเสาเข็มต้นสุดท้าย

                    - วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2541 ประดิษฐานพระบรมพุทธเจ้าบนโดมมหาธรรมกายเจดีย์

                    - เดือนธันวาคม 2542 พระพุทธรูปจำนวนสามแสนองค์ได้ถูกประดิษฐานครบถ้วน ณ ภายนอกองค์มหาธรรมกายเจดีย์

                    - วันที่ 31 ธันวาคม พ..2542 สาธุชนกว่า 200,000 คน จากทั่วโลกมาร่วมเฉลิมฉลองสหัสวรรษแห่งสันติภาพเป็นเวลา วัน ณ มหาธรรมกายเจดีย์

                    - เดือนมีนาคม 2547 สถานปนามหารัตนวิหารคด

                    - วันที่ 22 เมษายน 2554 หล่อองค์พระพุทธรูป 100,000 องค์สุดท้าย

                รวมระยะเวลาการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ทั้งหมดกว่า 17 ปี การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ลุล่วงผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในช่วงเวลานั้นไปได้ และวัดพระธรรมกายได้ใช้ก็บุญสถานแห่งนี้เพื่อจัดศาสนพิธีที่สำคัญหลายครั้งเรื่อยมา เช่น การเวียนประทักษิณรอบมหาธรรมกายเจดีย์เนื่องในวันวิสาขบูชา จุดโคมประทีปถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวันวันมาฆบูชา ใช้เป็นพื้นที่จัดงานตักบาตรถวายไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์นับหมื่นรูปจากทั่วประเทศ และกิจกรรมงานอบรมต่างๆ เป็นต้น

            นอกจากนี้รอบมหาธรรมกายเจดีย์ยังมีมหารัตนวิหารคดที่เป็นสถานที่อบรมศีลธรรมให้แก่พระภิกษุสงฆ์ทั่วทั้งสังฆมณฑล นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่หมุนเวียนกันเข้ามาใช้สถานที่แห่งนี้เป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการ “สร้างคนดี” ให้แก่สังคมและประเทศชาติปีละหลายล้านคน หากผู้คนมากันพร้อมกันนับล้านคนเช่นนี้ ก็จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการก่อสร้างสถานที่เพื่อรองรับไว้ให้ได้อย่างพอเพียง จึงต้องเน้นต้นทุนต่ำที่สุดแต่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทั้งยังมีประโยชน์ใช้สอยสูงสุดอายุการใช้งานที่ยืนยาวนาน และดูแลรักษาทำการซ่อมบำรุงได้ง่าย พร้อมทั้งยังต้องเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ขยายวงกว้างออกไปสู่ระดับนานาประเทศ ก้าวสู่สังคมโลกต่อไปอีกเป็นระยะเวลานับพันปี เพื่อให้สันติสุขอันไพบูลย์บังเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ 

        พิจารณาความเป็นพระสถูปเจดีย์ของมหาธรรมกายเจดีย์

            3.1 มูลเหตุแห่งการสร้างพระสถูปเจดีย์ทั่วไปมี 4 ประเภท

        3.1.1 การสร้างบริโภคเจดีย์

        เมื่อครั้งช่วงปลายสมัยพุทธกาล พระอานนท์ได้ถามพระพุทธองค์ว่า เดิมพุทธศาสนิกชนนั้นเคยยึดหลัก “พระไตรสรณคมน์” หมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ น้อมใจระลึกถึงและยึดถือเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต (พระธรรมปิฎก (.. ปยุตฺโต), 2543:123) หากภายหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว จะยึดสิ่งใดเป็นหลักต่อจากพระพุทธองค์

        จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “อานนท์ สังเวชนียสถาน แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู”  ซึ่งสังเวชนียสถาน แห่งมีดังนี้

    (1)   สังเวชนียสถาน อันตถาคตได้ประสูติ

    (2)   สังเวชนียสถาน อันตถาคตได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    (3)   สังเวชนียสถาน อันตถาคตได้ทรงประกาศ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”

    (4)   สังเวชนียสถาน อันตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อไปว่า “อานนท์ บุคคลใดจาริกไปยังเจดีย์แล้วมีจิตเลื่อมใสบุคคลนั้นหลังจากตายจะไปบังเกิดอยู่ในสุคติโลกสวรรค์ (ที..(ไทย)/ 10/ 202/ 150-151) สังเวชนียสถานทั้ง แห่งนี้ เมื่อไปสู่แล้วก่อให้เกิดความสลดใจ เกิดความเข้าใจ เกิดความไม่ประมาท เพราะย้ำเตือนให้ระลึกรู้ว่าแม้พระพุทธองค์ผู้ทรงประเสริฐเลิศกว่าผู้ใดในโลก มีพระบริสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ ยังต้องละจากขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ (พระธรรมปิฎก (.. ปยุตฺโต), 2543 : 208, 189) คือพระวรกายของพระพุทธองค์ รวมทั้งยังเป็นเครื่องเตือนว่าไม่มีผู้ใดรอดพ้นจากความตายไปได้ ย่อมส่งผลให้เกิดความเข้าใจในพระสัทธรรมของพระพุทธองค์สามารถเอื้อประโยชน์ให้เกิดความสุขสงบขึ้นในใจ เพื่อจะได้ใช้เป็นที่พึ่งได้แท้จริง ทั้งในวาระที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อละร่างกายนี้ไปแล้ว ดังนั้นบริโภคเจดีย์อันได้แก่ สังเวชนียสถานทั้ง แห่งนั่นเอง

                   3.1.2 การสร้างธาตุเจดีย์

                   เมื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเรียบร้อยแล้ว โมริยกษัตริย์เจ้าเมืองกุสินาราเดินทางมาแบ่งพระบรมธาตุช้าไป เมื่อทูตไปถึงเมืองกุสินารา พระบรมธาตุได้แจกไปเสียแล้ว คงได้เพียงแต่พระอังคาร ถ่านที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระไปจึงสร้างพระสถูปไว้ ณ เมืองปิบผลิวัน องค์ที่ ส่วนโทณพราหมณ์ผู้แบ่งพระบรมธาตุได้ทะนานโลละที่ตวงพระธาตุไป ก็ไปสร้างพระสถูปไว้ในเขตเมืองกุสินารานั้นอีกองค์ พระสถูป องค์นี้ ก็นับว่าเป็นทั้งธาตุเจดีย์และบริโภคเจดีย์ด้วย เพราะเนื่องด้วยองค์พระตถาคตเช่นเดียวกับที่สังเวชนียสถาน จึงได้รวมธาตุเจดีย์ แห่งนี้กับบริโภคเจดีย์ทั้ง แห่งข้างต้น รวมพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดเป็น แห่งด้วยกัน

                    3.1.3 การสร้างธรรมเจดีย์

                    จากการสันนิษฐานว่า ก่อนหน้าที่พระพุทธองค์จะทรงปรินิพพาน พระองค์ทรงแสดงปัจฉิมเทศนาแก่เหล่าพระสาวก ว่าพระธรรมจะแทนพระองค์ต่อไป ดังนี้เมื่อล่วงพุทธกาลมาแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บางกลุ่มอยู่ห่างไกลพระธาตุเจดีย์และพระบริโภคเจดีย์ที่มีอยู่ในครั้งนั้น จึงมีผู้รู้แนะนำให้จารึกพระธรรมลงเป็นตัวอักษรประดิษฐานไว้เป็นที่บูชา โดยอ้างพระพุทธพจน์ซึ่งตรัสว่าพระธรรมจะแทนพระองค์นั้น จึงเกิดเป็นธรรมเจดีย์ และได้พัฒนาเป็นประเพณีสร้างธรรมเจดีย์ขึ้น ครั้นต่อมาถึงสมัยเมื่อมีการบันทึกพระธรรมวินัยลงเป็นตัวอักษรแล้ว ก็นับถือคัมภีร์พระไตรปิฎกว่าเป็นพระธรรมเจดีย์ด้วยเหมือนกัน

                    3.1.4 การสร้างอุเทสิกะเจดีย์

                    เป็นการสร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใด ถ้าไม่ได้เป็นธาตุเจดีย์หรือบริโภคเจดีย์หรือธรรมเจดีย์แล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นอุเทสิกะเจดีย์ทั้งสิ้น การสร้างพุทธบัลลังก์เป็นที่สักการบูชา ในเวลารำลึกถึงพระพุทธองค์เมื่อเสด็จเข้าไปปรินิพพานแล้ว เรียกกันว่าอาสนะบูชา เป็นต้น จากการศึกษาตามมูลเหตุของการสร้างพระสถูปเจดีย์ พบว่ามหาธรรมกายเจดีย์นี้เป็นพระพุทธเจดีย์อันเกี่ยวเนื่องด้วยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดเป็น ใน ประเภทคือเป็นทั้ง ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ (พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), 2548 : 681) จุดเด่นของมหาธรรมกายเจดีย์อย่างหนึ่งก็คือ เป็นมหาเจดีย์ทีประดิษฐานองค์พระพุทธรูป กว่าหนึ่งล้านพระองค์ เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย การครองผ้าจะมีลักษณะแนบพระองค์คล้ายกับพระพุทธรูปสมัยคุปตะเป็นการยกระดับจิตใจของผู้ที่เคารพสักการะให้ละเอียดอ่อนและสูงขึ้น เป็นแรงบันดาลใจให้พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตเลื่อมใสใคร่ในการปฏิบัติธรรมตามแบบอย่างพระพุทธองค์ และยังเป็นการแสดงถึงวิธีปฏิบัติธรรมที่เมื่อผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามก็ย่อมเข้าถึงผลแห่งการตรัสรู้ธรรม เข้าถึงพระธรรมกายภายในดังเช่นพระพุทธปฏิมากรที่ประดิษฐานนับล้านองค์บนมหาธรรมกายเจดีย์ เข้าสู่ทางสายกลาง คือมรรคผลนิพพานตามองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าสืบไป

                   3.2 รูปลักษณ์โครงสร้าง

                    3.2.1 พระสถูปเจดีย์ยุคแรกของโลก จากการศึกษาด้านโบราณคดีในประเทศอินเดีย ทำให้พบวัฒนธรรมการฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์แบบหนึ่ง ที่มีการสร้างเป็นเนินดินรูปกลม มีเขื่อนหินล้อมรอบ ภายในเนินดินมีหินตัดเป็นแผ่นประกอบกันเป็นกล่องสีเหลี่ยม เพื่อบรรจุศพและสิ่งของอุทิศให้แก่ผู้ตาย เช่นที่แหล่งโบราณคดีพรหมคีรี (Brahmagiriรัฐการนาตกะ (Karnatakaทางภาคใต้ของประเทศอินเดียเป็นเนินดินรูปกลมมีห้องไว้ศพพร้อมเครื่องบูชา ดังภาพที่ แสดงไว้อันเป็นต้นเค้าของสถูปเจดีย์ในพุทธศาสนา


            

ภาพที่ 1: (ประภัสสร์ ชูวิเชียรสถูปเจดีย์ คือ หลุมฝังศพสมัยก่อนพุทธกาลในอินเดีย [Online].  Accessed 29 September 2014.  Available from http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi)

    ภาพที่ ได้แสดงรูปแบบของพระสถูปเจดีย์ในยุคต้นๆ ของอินเดีย ยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเนินดินฝังศพอยู่คือ เน้นส่วนเนินรูปกลมที่มีเขื่อนกันรอบด้านบนปักฉัตรและมีรั้วสี่เหลี่ยมล้อมรอบ โดยในศิลปะอินเดียโบราณราวพุทธศตวรรษที่ 3-4 ได้เริ่มมีการสร้างสถูปเจดีย์ด้วยถาวรวัตถุคือหิน ฉะนั้นจึงยังมีหลักฐานหลงเหลือมาให้ศึกษากัน เช่น สถูปที่สาญจี (Sanchi) รูปแบบของเนินดินกลมดังกล่าวนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น “แม่แบบ” ของพระสถูปเจดีย์ในระยะต่อมา ซึ่งพัฒนาเป็นทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ มีคันขอบก่อหินล้อมรอบเพื่อกันเนินดินทลาย ส่วนภายในที่เป็นกล่องหินซึ่งบรรจุศพและเครื่องบูชา ก็เป็นที่มาของ “กุรุ” หรือห้องเล็กๆ สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายในองค์เจดีย์นั่นเอง ส่วนด้านบนของเนินดิน เชื่อว่าเดิมน่าจะเคยก่อแท่นหรือปักฉัตรเอาไว้ เพื่อเป็นเสมือนเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าเป็นหลุมศพของผู้ใด ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นส่วนที่เรียกว่า “บัลลังก์” และยอดสถูปเจดีย์ในที่สุด


                ภาพที่ 2: (Joel Suganth.  The Great Stupa at Sanchi, India, established by Ashoka (4th–1st century BCE) [Online]. Accessed 29 September 2014.  Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Stupa

    เจดีย์ในยุคต้นๆ ของอินเดียนี้ ต่อมาได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่างๆ พร้อมๆ กับการขยายตัวของพระพุทธศาสนา โดยดินแดนสำคัญที่พุทธศาสนาได้ฝังรากหยั่งลึกตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์คือ ลังกาหรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักฐานเป็นมหาสถูปขนาดใหญ่หลายแห่งในเมืองอนุราธปุระ เมืองหลวงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4-16 เช่น เจดีย์รุวันเวลิเสยะ ดังภาพที่ เป็นต้น ซึ่งการสร้างมหาสถูปขนาดใหญ่เช่นนี้ ถือเป็นกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของกษัตริย์ลังกาสมัยโบราณ และคัมภีร์ถูปวงศ์ (Thupavamsaที่เขียนขึ้นในลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ก็ยังกล่าวว่านอกจากสถูปเจดีย์จะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางของคณะสงฆ์อีกด้วย สถูปเจดีย์ลังกามีลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์ในสมัยอินเดียโบราณ คือเน้นทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ที่มาจากเนินดินหลุมฝังศพ มีบัลลังก์เป็นแท่นสี่เหลี่ยมด้านบน และส่วนยอดคือฉัตรที่ซ้อนกันในทรงกรวยสูง ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาทั้งจากอินเดียและลังกาเผยแผ่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว จึงได้มีการสืบทอดประเพณีที่กษัตริย์จะต้องสถาปนาพระมหาธาตุหรือมหาสถูปให้เป็นปูชนียสถานของแว่นแคว้น ดังเห็นได้จากเจดียสถานขนาดใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคนี้หลายแห่ง 

ภาพที่ 3: (ศุภศรุตสถูปพระมหาเจดีย์รุวันเวลิมหาเสยา (Ruwanweli Maha seya) สร้างขึ้นครั้งแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 4-5 เมืองโบราณอนุราธปุระ (Anuradhapura) [Online]. Accessed 29 September 2014. Available from  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=869477)  

    เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยโครงสร้างพื้นฐานของมหาธรรมกายเจดีย์ เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาเปรียบเทียบ จึงแบ่งมหาธรรมกายเจดีย์เป็น องค์ประกอบหลัก ดังนี้คือ

        (1) ส่วนองค์มหาธรรมกายเจดีย์ ส่วนรูปทรงเป็นลักษณะโดมคล้ายเนินดินกลม ถูกสร้างด้วยวัสดุคอนกรีตสูตรพิเศษ และมีคันขอบสร้างด้วยคอนกรีตกั้นโดยล้อมรอบ แทนการใช้หินแบบตอนสมัยยุคต้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับลักษณะรูปทรงของสาญจีเจดีย์ (Sanchi) ส่วนภายนอกด้านบนของเนินดิน สาญจิมีการก่อแท่น (หรรมิกา) หรือปักฉัตรเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นส่วนที่เรียกว่า “บัลลังก์” และยอดพระสถูปเจดีย์ในที่สุด มหาธรรมกายเจดีย์ใช้หลักการเดียวกันกับสาญจิเจดีย์ แต่เป็นการหล่อและประดิษฐานองค์พระพุทธรูปสีทองแท้เหลืองอร่ามบนกลางยอดโดม และบริเวณวงแหวนเชิงลาดของพระเจดีย์ พระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่เป็นโลหะเรียกว่า “ซิลิกอน บรอนซ์” มีความแข็งแรงและทนทานสูง รวมทั้งใช้ไททาเนียมกับทองคำในการเคลือบผิวของพระพุทธรูป เพื่อป้องกันพื้นผิวและให้ดูมีความสุกสว่าง โดยจะประดิษฐานพระพุทธรูปบนโดมและวงแหวนเชิงลาดจำนวน 300,000 องค์แทนการก่อแท่น (หรรมิกา) และปักฉัตร หรือบัลลังก์ เป็นต้น ส่วนภายในสาญจิเจดีย์มีลักษณะเป็นกล่องหินเรียกว่า “กุรุ” หรือห้องเล็กๆ สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายในองค์เจดีย์ ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์นั้นเป็นห้องโล่งกว้างสำหรับประดิษฐานของพระพุทธรูปอีกจำนวนเจ็ดแสนองค์ รวมพระพุทธรูปทั้งหมดเป็นจำนวนนับล้านองค์ ยังมีการเก็บรักษาพระธรรมคำสอน และพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ภายในเช่นเดียวกันอีกด้วย

    (2) ส่วนลานธรรม ถูกสร้างขึ้นล้อมรอบองค์มหาธรรมกายเจดีย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตั้งอยู่บนพื้นที่ ตารางกิโลเมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผสมพิเศษหล่อเป็นแผ่นพื้น ซึ่งสามารถรับแรงกดได้สูง โดยลงเสาเข็มลึก 21 เมตร จำนวน 17,948 ต้นรองรับตลอดทั้งพื้นที่ เพื่อป้องกันการทรุดตัวของพื้นดินในอนาคต รวมทั้งมีการทำคานคอนกรีตเชื่อมโยงเป็นผืนเดียวกัน มีระบบระบายน้ำใต้พื้นดินที่มีประสิทธิภาพสูง พื้นลานธรรมถูกออกแบบให้รองรับพุทธศาสนิกชนกว่าสีแสนคนเป็นอย่างน้อย และมีอายุการใช้งานคงทนนานกว่าหนึ่งพันปีเคียงคู่กับมหาธรรมกายเจดีย์

     (3) ส่วนมหารัตนวิหารคด เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสรายล้อมรอบลานธรรม และองค์มหาธรรมกายเจดีย์ มีความยาวด้านละ กิโลเมตร หลังคาเป็นโลหะ สแตนเลสชนิดพิเศษทรงพีระมิดแบบพื้นลาด ด้าน ใต้หลังคามีฉนวนกันความร้อน เสาและคานทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย ส่วนพื้นเป็นคอนกรีตขัดมัน รวมทั้ง ชั้นของมหารัตนวิหารคดมีพื้นที่ใช้งาน 632,776 ตารางเมตร เมื่อรวมกับพื้นที่ของลานธรรมอีกจำนวนกว่า 430,000 ตารางเมตรแล้ว จะมีพื้นที่กว่า ล้านตารางเมตร ซึ่งจะสามารถรองรับพุทธบริษัทที่มาร่วมประกอบพิธีแต่ละครั้งได้ถึงหนึ่งล้านคน โดยประมาณ

    การสร้างพระพุทธเจดีย์ด้วยวัสดุพิเศษดังกล่าว จึงเท่ากับทำให้ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาถูกศึกษาได้ง่ายขึ้น เพราะฐานรากของการสร้างองค์เจดีย์เป็นสิ่งที่ทำลายได้ยากยิ่ง สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นหลักฐานการเดินทางและการครอบคลุมของพระพุทธศาสนา เพราะหนึ่งองค์พุทธเจดีย์ย่อมมีเรื่องให้ต้องศึกษาค้นคว้าได้อย่างมากมาย จากตัวอย่างพบว่าลักษณะของพระสถูปเจดีย์ สถานที่ก่อสร้างและองค์ประกอบของพระสถูปเจดีย์ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สถาปัตยกรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามส่วนหลักๆ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวและสมดุลเหมือนเดิม อันได้แก่

     (1) ความงาม หมายถึง สัดส่วนและองค์ประกอบ การจัดวางที่ว่าง สีวัสดุ และพื้นผิวของอาคาร ที่ผสมผสานลงตัว ที่ยกระดับจิตใจ ของผู้ได้เยี่ยมเยือนสถานที่นั้นๆ

    (2) ความมั่นคงแข็งแรง เพราะเหตุการณ์ต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น สงครามที่อาจทำลายสิ่งที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมหรือความเป็นอัตลักษณ์ของแผ่นดินศัตรู ดังนั้นการทำให้พระพุทธเจดีย์ต้องแข็งแรงที่สุด จึงถือได้ว่าปลอดภัยที่สุด ในอันที่จะเก็บรักษาสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมความศรัทธานี้ไว้ให้ยั่งยืน อีกทั้งเป็นแหล่งเก็บรักษาสมบัติมีค่าไว้ภายในได้อีกจนกว่าจะมีการขุดเจาะเข้าสู่ภายใน อีกประการหนึ่ง คือ เรื่องของดินฟ้าอากาศกับวันเวลา นับวันมีแต่เสื่อสลายลง งานก่อสร้างจะต้องใช้วัสดุเท่าที่เทคโนโลยีขณะนั้นจะสร้างสรรค์ได้ จึงจะสามารถต้านแรงลมฟ้าอากาศได้ดีที่สุด นานที่สุด ฉะนั้นในวันที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุด ณ แห่งใด แต่หากวันเวลาล่วงผ่านไป ณ ที่แห่งนั้นอาจจะไม่ใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนาแล้วก็เป็นได้ พระพุทธเจดีย์ที่แข็งแรงที่จะทำหน้าที่เป็นพยานวัตถุว่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอดีตอันยาวนาน พระพุทธศาสนาได้ยาตราเจริญ ณ ดินแดนแห่งนี้ เป็นต้น

    (3) ประโยชน์ใช้สอย หมายถึง การสนองประโยชน์ และการบรรลุประโยชน์แห่งเจตนา รวมถึงปรัชญาของสถานที่นั้นๆ เช่น เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่อบรมบ่มนิสัย กาย วาจา ใจ ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

            3.2.2 โครงสร้างของพระพุทธเจดีย์ มีลักษณะใดขึ้นอยู่กับการเน้นให้ความสำคัญ ระหว่างแนวระนาบกับแนวดิ่งมากกว่ากัน ซึ่งเป็นสิ่งสามารถที่เลือกและกำหนดได้ เพียงแต่ถ้าองค์ใดหนักไปทางแนวดิ่งหรือแนวตั้ง จะเรียกพระพุทธเจดีย์องค์นั้นว่า “Pile Shape or Pile Type” และจะเรียกพระพุทธเจดีย์เน้นแนวระนาบว่า “Plan Shape or Plan Type” เมื่อทำศึกษาต่อจะพบว่า ทั้งแนวระนาบและแนวดิ่งต้องอยู่คู่กันเป็นปรัชญาที่ผสมผสานอิงในกันและกันอย่างไม่อาจจะแยกออกจากกันได้ โดยต่างแบบต่างมีรูปร่าง หรือรูปแบบของอีกแบบหนึ่งซ่อนไว้ เช่น พุทธเจดีย์แนวตั้งจะซ่อนส่วนโดมที่มองไม่เห็นไว้ เรียกว่า Invisible Dome เช่นเดียวกันในพุทธเจดีย์แนวระนาบก็จะซ่อนส่วนสูงที่มองไม่เห็น เรียกว่า Invisible Height ไว้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น การพัฒนาของพุทธเจดีย์ถึงแม้จะผันแปรไปมากมายหลายรูปทรง แต่ทุกองค์ก็มุ่งสู่พระนิพพาน โดยมีพื้นฐานเริ่มต้นจากแดนมนุษย์แล้วรุดผ่านสวรรค์ชั้นต่างๆ ไปในกลางของกลางบนเส้นทางสายกลางนั่นเอง หากย้อนกลับมามองดูมหาธรรมกายเจดีย์ที่เน้นความกว้างใหญ่ จะเห็นได้ว่ามีสิ่งที่ซ่อนไว้นั้นคือ ส่วนสูงที่มองไม่เห็น หรือ The Invisible Height แต่กระนั้นแนวเส้นตรงตั้งฉากที่เรียกว่าแนว Zenith หรือ “แนวหนทางสายกลาง” ไม่ได้หายไป แต่ยังคงเริ่มต้นจากจุดกึ่งกลางฐานที่เป็นโดมแล้วลากตั้งฉากขึ้นไปสู่ฟากฟ้าเช่นเดิม ประเภทของพระสถูปเจดีย์ มีหลายลักษณะเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาวิเคราะห์ ในที่นี้ก็จะจัดแบ่งพระสถูปเจดีย์ออกเป็น แบบดังนี้

            3.2.2.1 พระสถูปรูปโดม มีองค์ประกอบเด่นชัดคือโดม จะเห็นต้นแบบนี้ได้ที่สาญจีพระสถูปรูปโดมดังภาพที่ ปรากฏแพร่หลายในพระสถูปยุคแรกๆ ของอินเดีย ในศรีลังกา พม่า และไทย

            ภาพที่ 4: Buddha Dharma Education Association & BuddhaNet.  สาญจีพระสถูปรูปโดม [Online].  Accessed 30 September 2014. Available on  http://www.buddhanet.net/e-learning/history/buddhist-art/

        3.2.2.2 พระสถูปฐานระเบียง รูปโดมลดน้อยลง แต่มีรูปพีระมิดลดระดับเป็นชั้นๆ ตั้งอยู่เป็นแท่นดังภาพที่ พระสถูประเบียงมีอยู่ทั่วไปในทิเบตและเนปาล ในพม่า ในเอเชียภาคกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างเด่นชัดของพระสถูปแบบนี้ก็คือ พระสถูปบรมพุทธในชวา

           

ภาพที่ 5: นัชรี  อุ่มบางตลาดพระสถูปบรมพุทธในชวา [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/1_13.html

        3.2.2.3 พระสถูปทรงหอประสาท เป็นพระสถูปที่มีโครงสร้างคล้ายหอปราสาทลดหลั่นหลายชั้นที่เรียกว่า “พาโกดา (Pagoda)” มีรูปแบบหลักอยู่ รูปแบบ รูปแบบหนึ่งสร้างโดยการก่ออิฐถือปูน เป็นรูปแบบที่แสดงให้เห็นชั้นต่างๆ ด้วยชุดลวดบัวแบบเรียบสัมพันธ์กัน หรือด้วยช่องหน้าต่าง ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งสร้างด้วยไม้ แสดงให้เห็นชั้นต่างๆ โดยคั่นด้วยหลังคาที่ทำเป็นปล้องรูปแบบทั้งสองประเภทมีสถูปองค์น้อยตั้งอยู่บนยอดสุด จากภาพที่ แสดงพระสถูปแบบแรกมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ที่พุทธคยา และเจดีย์อิฐที่ประเทศจีน ส่วนพระสถูปแบบหลังเคยปรากฏอยู่ทั่วไปในประเทศจีน

                                      

ภาพที่ 6: แสดงพระสถูปทรงหอประสาท อันได้แก่ พุทธคยา และ The Six Harmonies Pagoda/The Liuhe Pagoda ตามลำดับ [Online].  Accessed 30 September 2014. Available on  http://www.thinkingbloom.com และ http://www.china-tour.cn;


                                       

ภาพที่ 7: Dhammakaya Media Channel.  รูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์เป็นการผสมผสานพระสถูปเจดีย์ทรงรูปโดมกับพระสถูปทรงฐานระเบียง โดยมณฑลเป็นรูปวงกลม [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on  http://en.wikipedia.org/wiki

        เมื่อทำการพิจารณารูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์ดังภาพที่ นั้น พบว่าเป็นการผสมผสานพระสถูปทรงโดมกับพระสถูปทรงฐานระเบียง โดยมีมณฑลเป็นรูปวงกลม ซึ่งก็ไม่ได้มีความผิดแผกแตกต่างไปจากรูปทรงเจดีย์สำคัญที่มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านี้ เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นสากลของการสร้างพระสถูปเจดีย์ 

    ยังมีหลักฐานทางโบราณที่สำคัญมากอีกชิ้นหนึ่ง เป็นจดหมายเหตุการณ์การเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง โดยพระถังซำจั๋ง ซึ่งเป็นมหากาพย์การเดินทางเมื่อ 1,357 ปีมาแล้ว ท่านเดินทางออกจากเมืองราชคฤห์น้อยบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 50 ลี้เศษ (2 ลี้เท่ากับ กิโลเมตร) มีเมืองชื่อตรฺปุษะ จากตัวเมืองหวงไปทางทิศเหนือราว 40 ลี้ มีเมืองชื่อภัลลิก ทั้งสองเมืองต่างก็มีสถูปสูง 30 ตึ๋งเศษ (1 ตึ๋งประมาณ เมตร) เมืองละองค์

        จำเดิมเมื่อตถาคตเจ้าบรรลุซึ่งพระสัมโพธิญาณนั้น พระองค์เสด็จละจากใต้ต้นโพธิ์ พระราชดำเนินสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในระหว่างทาง มีคฤหบดีทัศนาพระศุภลักษณะอันสง่างามน่าเกรงขามของพระพุทธองค์ ก็เดินติดตามไปและได้ถวายข้าวตูกับน้ำผึ้ง องค์พระโลกนารถจึงทรงประทานธรรมเทศนาว่าด้วยสุขสิริมงคลของมนุษย์กับเทวดาแก่คฤหบดีทั้งสอง บุคคลทั้งสองจึงเป็นสองคนแรกที่ได้สมาทานศีลห้าและสดับพระพุทธโอวาทในกุศลกรรมบทเมื่อสดับฟังคำสอนของพระองค์จบลง ทั้งสองได้ทูลขอสิ่งที่จะนำกลับไปสักการบูชาในภายภาคหน้าพระตถาคตทรงประทานพระเกศาและพระนขาแก่บุรุษทั้งสอง และเมื่อกลับคืนบ้านเมืองของตน ทั้งสองก็ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า การกระทำสักการบูชานั้นควรมีแบบแผนอย่างไร

        พระพุทธองค์จึงทรงพับสังฆาฏิให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมปูลงกับพื้น ลำดับต่อมาทรงเปลื้องอุตราสงค์และผ้าสงฺกกฺษิกาพับให้เป็นอย่างเดียวกันและปูซ้อนลงไป จากนั้นก็คว่ำบาตรลงบนจีวรและตั้งไม้ขักขระไว้บนบาตรอีกชั้นหนึ่งด้วยลำดับดังภาพที่ ก็ปรากฏเป็นรูปร่างของสถูปขึ้น คฤหบดีทั้งสองเมื่อกลับคืนสู่บ้านเมืองของตนแล้วก็ลงมือสร้างสิ่งก่อสร้างตามลักษณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้ดู และนั่นคือพระสถูปแรกสุดในพระพุทธศาสนา (ชิว ซูหลุน, 2549 : 52-53) ซึ่งมีลักษณะเดียวกับมหาธรรมกายเจดีย์ ตรงตามพระพุทธองค์ได้ทรงเคยตรัสไว้เรื่องรูปทรงของพระเจดีย์ ดังภาพที่ 8

        ส่วนภายในประเทศไทยทางกรมศิลปากรได้ตรวจสอบและยืนยันว่า องค์พระพุทธรูปและองค์มหาธรรมกายเจดีย์ ไม่ผิดแบบแผน นายนิคม มุสิกะคามะ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า “ในกรณีการสร้างพระพุทธรูปของวัดพระธรรมกายถือว่าไม่ผิด เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาก็มีการลอกเลียนแบบศิลปะด้านนี้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีศิลปะสมัยใหม่เข้ามา ก็ยิ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน”“การสร้างพระพุทธรูปของวัดพระธรรมกายถือว่าไม่ผิดเพราะศิลปะมีการปรับเปลี่ยน ในกรณีนี้เป็นจินตนาการของศิลปินวัดพระธรรมกายที่จะสร้างพระออกมา ทั้งนี้การสร้างพระต้องเข้าใจว่า จะต้องไม่หยาบโลน สมควรแก่การกราบไหว้บูชาเช่นเดียวกัน เจดีย์ภายในวัดพระธรรมกายก็ไม่ผิดรูปแบบเหมือนกัน” นายนิคมกล่าว (วันอาทิตย์ 31 มกราคม พ.. 2542)

ภาพที่ 8: เกษมสุข ภมรสถิตย์เล่าเรื่องเจดีย์: เจดีย์ศึกษา เหตุกำเนิดพระเจดีย์กรุงเทพมหานคร : บ้านมธุระ. ปี 2544 : 1

           เมื่อทำการศึกษาจึงพบว่ารูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์นี้ ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกับพระสถูปเจดีย์ทั่วๆไป อยู่บนพื้นฐานหลักการสำคัญเดียวกัน รวมทั้งรูปร่างที่เป็นเชิงลาดคล้ายบันได ที่พระสงฆ์ใช้นั่งปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีกรรม เรียกว่า “สังฆรัตนะ” ส่วนรูปทรงครึ่งทรงกลมโดมและเชิงลาดที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานภายนอกกว่าสามแสนองค์ ที่เรียกว่า “พุทธรัตนะ”และเชื่อมด้วยเชิงลาดที่เชื่อมต่อเนื่องระหว่างพุทธรัตนะและสังฆรัตนะ เรียกว่า “ธรรมรัตนะ” รวมแล้วเป็นพระรัตนตรัย หมายความว่าเป็นเจดีย์แห่งพระรัตนตรัย 

        ดังแสดงตัวอย่างให้เห็นเปรียบเทียบตั้งแต่พระพุทธเจดีย์ยุคแรกๆ นอกจากมหาธรรมกายเจดีย์นี้จะเป็นสถานที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังสามารถใช้สถานที่ประกอบพิธีทางธรรมทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นห้องเรียนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขนาดใหญ่ที่บรรจุนักเรียนคือพุทธศาสนิกชนเข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติได้พร้อมๆกันเป็นล้านคน ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ก็มีพุทธศาสนิกชนเข้ามาประพฤติปฏิบัติกว่าสองแสนคนในแต่ละวันสำคัญทางพระพุทธศาสน

        สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม

  ประเพณีนิยมอินเดียถือว่า สถาปัตยกรรมย่อมเป็นสัญลักษณ์ทำหน้าที่เป็นสะพานทางปัญญาที่เชื่อมสิ่งที่มองเห็นกับสิ่งมองไม่เห็น เชื่อมสิ่งที่มีตัวตนเข้ากับสิ่งที่ไร้รูปแบบ และเชื่อมสิ่งที่อธิบายได้เข้ากับสิ่งที่อธิบายไม่ได้ สัญลักษณ์เป็นเครื่องช่วยยืนยันว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความจริงระดับต่างๆ ที่เทียบเคียงได้ สถาปัตยกรรมดังกล่าวถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม และรูปแบบส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณา ซึ่งจะอธิบายเป็นส่วนหลักดังต่อไปนี้

        4.1  แผนผัง

        4.1.1 สัณฐานตามพื้นที่ของพระสถูปเจดีย์

        รูปแบบพระสถูปเจดีย์มีมากมายหลากหลาย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็มีความแตกต่างกัน เช่น พระสถูปเจดีย์ที่เป็นรูปทรงโดม รูปทรงหอสูง และรูปทรงพีระมิด แต่พระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พบอยู่ทั้งในอดีตและปัจจุบันจะสามารถสังเกตได้ว่า พระสถูปเจดีย์รูปแบบต่างๆ นั้นเกิดจากจารีตทางสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะโดดเดี่ยวเฉพาะตน แม้แตกต่างกันไป แต่พระสถูปเจดีย์ก็มีลักษณะสำคัญร่วมกัน กล่าวคือ

            4.1.1.1 แผนผังพระสถูปเจดีย์ทุกแบบพัฒนาอย่างมีสัดส่วนอย่างสมมาตรจากรอบๆ จุดศูนย์กลาง (Origin: Observer) ขึ้นมาเสมอ

          4.1.1.2 ปริมาตรของพระสถูปเจดีย์ทุกองค์พัฒนาอย่างมีสัดส่วนรอบๆ แกนกลางที่ตั้งเป็นแนวดิ่งจากจุดศูนย์กลาง เรียกว่า Zenith Line ซึ่งถือว่าเส้นนี้ลากตั้งฉากกับภพมนุษย์ขึ้นตรงไปสู่พระนิพพานเหนือขึ้นไป

            4.1.1.3 องค์พระสถูปเจดีย์ถูกกำหนดที่ตั้งแผนผังไว้สอดคล้องกับทิศทุกทิศ อันได้แก่ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เป็นต้น

        ลักษณะสำคัญเหล่านี้ อันได้แก่ ศูนย์กลาง (Origin : Observer) เส้นแกน (Zenith Line) และการหันทิศทางให้ถูกต้อง (Directions : North, South, East and West Point) ซึ่งถูกกำหนดที่ตั้งไว้ตามทิศทั้งสี่ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานและขาดไม่ได้ในการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ มีฐานรองรับนั้นอาจมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นฐานสี่เหลี่ยม ฐานวงกลม หรือฐานรูปหลายด้าน ดังแสดงในภาพที่ เป็นต้น (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริผู้แปล, 2541: 16-17)

ภาพที่ 9: Professor of Astronomy & Author Courtney Seligman. สัณฐานตามพื้นที่ของพระสถูปเจดีย์คือ จุดศูนย์กลาง (Origin: Observer), แกนตั้ง (Zenith) และมีการกำหนดทิศทาง (Directions) [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available from http://www.cseligman.com/text/sky/celestialsphere.htm

        มหาธรรมกายเจดีย์ก็มีสัณฐานตามพื้นที่ด้วยเช่นกัน อยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกันกับการสร้างพระสถูปเจดีย์ทั่วไป จะเห็นได้ว่ามหาธรรมกายเจดีย์นั้นมีรูปทรงสมมาตรจากจุดศูนย์กลาง (Originเสมอ มีปริมาตรจากเส้นแกนกลาง (Zenith Lineโดยรอบ จากการลากเส้นตั้งฉากขึ้นไป เส้นตรงที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างภพมนุษย์กับดวงอาทิตย์ ถ้าในระบบสุริยะจักรวาล Zenith Line เป็นการเชื่อมภพมนุษย์ไว้กับพระอาทิตย์ที่อยู่ในตำแหน่งจุดสูงสุดกลางฟ้า เชื่อกันต่อมาว่าทุกอย่างที่บรรจุลงในเส้นตรงเส้นนี้ จะไม่มีวันสูญสลายเป็นสถานที่อันปลอดภัยและเป็นอมตะ ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาเป็นเส้นทางทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมา ปฏิปทา เป็นการเชื่อมต่อของผู้รู้กับผู้รู้ของภพมนุษย์กับพระนิพพาน (เกษมสุข ภมรสถิตย์, 2544 : 50) และมีการกำหนดทิศทางที่ถูกต้องชัดเจนในทิศทั้งสี่ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ตามหลักการของสัณฐานตามพื้นที่ของพระสถูปเจดีย์ ดังภาพที่ 10

  

ภาพที่ 10: Dhammakaya Media Channel.  มหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งมีจุดศูนย์กลาง (Origin) แกนตั้ง (Zenith) และกำหนดทิศทาง (Directions) [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://www.dmc.tv

        เพราะฉะนั้น จากการศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานสำคัญของมหาธรรมกายเจดีย์ อันได้แก่ ศูนย์กลาง เส้นแกน และการหันทิศทางอย่างชัดเจน เป็นลักษณะร่วมที่เป็นหลักสำคัญของพระสถูปเจดีย์ทั่วไปอยู่เสมอไม่แตกต่างกัน

4.1.2 การกำหนดเขตพิธีกรรมของแผนผังพระสถูปเจดีย์

    พิธีกรรมได้กำหนดและจำกัดพื้นที่ว่างไว้ เพื่อให้พื้นที่ว่างมีความหมายมากขึ้น โดยพิธีกรรมได้สร้างสรรค์ระบบระเบียบทางพื้นที่ขึ้นมาจากความไร้ระเบียบ และสร้างสรรค์ระบบจักรวาลขึ้นมาทำให้พื้นที่มีความศักดิ์สิทธิ์ โดยการอ้างอิงรูปแบบแผนผังของจักรวาล (Cosmology) (รูปแบบของวิธีการสร้างจักรวาล) ซึ่งประกอบด้วยทรงกลมกลวงชุดหนึ่งเป็นวงซ้อนกัน อธิบายโดยทรงกลมรูปหนึ่งจะเป็นตัวแทนของภพภูมิ ทรงกลมที่อยู่เหนือขึ้นไปนับจากจุดศูนย์กลาง คือ ภพสวรรค์ และทรงกลมที่อยู่ต่ำกว่าจุดศูนย์กลาง เป็นตัวแทนนรก ดังนั้นรูปทรงสัณฐานโดยตลอดย่อมแสดงถึงลำดับชั้นของภพภูมิ ยกตัวอย่าง การโยนหินลงบนผิวน้ำจะเป็นคลื่นวงกลมซ้อนๆ กันนับไม่ถ้วน (ถ้ามองจากด้านบน) ส่วนแกนที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของแผนผังนั้นคือ แกนจักรวาล เป็นแกนกลางของภพภูมิต่างๆ ร้อยเรียงภพภูมิเหล่านั้นเข้าด้วยกันตรงจุดศูนย์กลางเสมือนการร้อยลูกปัดเป็นสายสร้อย (ถ้ามองจากด้านข้าง) (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริผู้แปล, 2541 : 18-24)

                                   

ภาพที่ 11: Dhammakaya Media Channel.  ภาพถ่ายบางส่วนของลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ เมื่อมองด้านบนจะเห็นพื้นที่เป็นลักษณะวงกลมซ้อนกัน [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://www.dmc.tv 

ภาพที่ 12: ศิริวรรตน์ภาพการจำลองแผนภูมิจักรวาล ถ้ามองด้านบนลงมาเหมือนวงน้ำซ้อนกัน และมองด้านข้างเป็นเหมือนสายสร้อยลูกปัด [Online]. Accessed 30 September 2014. Available on http://saradham.siamtapco.com

    จากการศึกษาเรื่องของการกำหนดเขตพิธีกรรมของแผนผังพระสถูปเจดีย์ โดยจะพบว่ามหาธรรมกายเจดีย์มีความสอดคล้องตามแผนผังของจักรวาล (Cosmology) เมื่อมองจากด้านบนลงมาด้านล่าง จะเห็นเป็นวงกลมซ้อนๆ กันอย่างชัดเจน (เปรียบเทียบกับวงน้ำที่กระจายตัวออกจากศูนย์กลาง) เป็นเสมือนการจำลองภพภูมิที่ซ้อนกันอยู่ตามจักรวาลวิทยา โดยมีการเรียงตัวกันเหมือนสายสร้อยที่มีแกนกลางเดียวกัน (เมื่อมองจากทางด้านข้าง) ส่วนโดมเป็นเสมือนอายตนนิพพานดินแดนแห่งพุทธภูมิ และถัดออกมาก็เป็นภพภูมิที่ต่ำถัดลงมา อรูปพรหม รูปพรหม สวรรค์ และภพมนุษย์ ต่ำจากพื้นดินไปเป็นภพภูมิของนรก ตามลำดับ ดังภาพที่ 11 เป็นต้น         

4.1.3 การแผ่กระจายพระวรกายของพระพุทธเจ้า

    พระพุทธองค์ คือ พระตถาคตก็ทรงมีพระปัญญารอบรู้ ทรงมีอภิญญา ทรงปราศจากความลังเลสงสัย และทรงมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการเป็นพระพุทธเจ้า ทรงฤทธานุภาพเป็นเลิศ พระพุทธองค์ทรงเป็นบิดาแห่งโลก (โลกปิตา) (Adrian Snodgrass, 1992 : 50, H. Kern, 1884: 77) 

    เช่นเดียวกับการเปล่งรัศมีจากดวงอาทิตย์อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แสดงว่าพระพุทธองค์สถิตอยู่ทุกหนแห่งในทุกจุดของจักรวาล พระพุทธเจ้าทรงแบ่งพระพุทธองค์เองเพื่อสถิตอยู่ในธุลีแม้เล็กที่สุดของจักรวาล ศาสนาพุทธเปรียบเทียบจักรวาลว่าเป็นพระวรกายของพระพุทธเจ้า พระวรกายอันเป็นแก่นแท้ของพระองค์ แผ่เต็มอวกาศในทิศทั้งสิบ กว้างใหญ่มหาศาล ไม่มีที่สิ้นสุด (อนันตะ) เช่นเดียวกับอวกาศนั้น

    ส่วนคัมภีร์ทิพยาวทานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่บนกลีบบัวอันวิเศษซึ่งพญานาคนันทะและอุปนันทะสร้างถวาย พระองค์ประทับนั่งอยู่บนดอกบัวนี้ โดยมีท้าวสักกะ (พระอินทร์) อยู่เบื้องขวา และพระพรหมอยู่เบื้องซ้าย จากนั้นก็ทรงเนรมิตดอกบัวขึ้น อีกดอกหนึ่งเหนือดอกแรก ในดอกบัวนี้มีพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ และก็จะทรงเนรมิตดอกบัว ดอกอื่นขึ้นอีกทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆ และแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ จนเกิดจำนวนพระพุทธเจ้ามหาศาลใน อิริยาบถ (ยืน เดิน นั่ง และนอนในท่าสีหไสยาสน์) เต็มทั้งสวรรค์ จนขึ้นไปถึงชั้นอกนิษฐพรหมอันเป็นพรหมโลกขั้นสูงสุดของแดนรูปภูมิอย่างนี้เป็นต้น (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริ, 2541. 65 - 70) จากศึกษาวิเคราะห์หลักการแผ่กระจายพระกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านองค์มหาธรรมกายเจดีย์ได้อย่างสอดคล้องชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความหมายของพระอธิปัญญาที่แผ่กระจายไปทั่วทั้งจักรวาล ประดุจแสงแห่งดวงอาทิตย์ที่สาดแสงผ่านขจัดความมืดของจักรวาลทั้งหมด ไม่มีอะไรที่จะมาบดบังได้ หรือเป็นการจำลองอายตนนิพพานที่เต็มไปด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในกาลก่อนมากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง ของชมพูทวีป และมหาธรรมกายเจดีย์ คือ สัญลักษณ์ของพระนิพพานที่พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นประหนึ่งเวียงวังของพระพุทธองค์ (Stupa is the Palace of Buddhas) และพระอรหันตเจ้าทั้งปวง ดังภาพที่ 12


ภาพที่ 13: Dhammakaya Media Channel. พระปฏิมากรจำนวนสามแสนองค์ประดิษฐานภายนอกมหาธรรมกายเจดีย์ ประดุจพระพุทธองค์ปาฏิหาริย์กายกระจายเต็มจักรวาล [Online].  Accessed 30 September 2014. Available on http://www.dmc.tv

4.1.4 แผนผังพระสถูปเจดีย์ที่เป็นมณฑล

    ลักษณะของมณฑล คือ ลักษณะของแผนผังของพระสถูปเจดีย์ เพราะสร้างขึ้นตามพิธีกรรม ในการ สร้างสีเหลี่ยมจัตุรัสล้อมวงกลม” ซึ่งความหมายของมณฑลเป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า วงกลม” และได้ขยายความให้หมายถึงพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ในคัมภีร์ของทิเบตมณฑล แปลว่า ศูนย์กลาง” หรือ สิ่งที่ล้อมรอบ” ส่วนในภาษาจีน มณฑลเป็นบริเวณที่มีจุดศูนย์กลาง และมีขอบเขตแน่ชัด มณฑลจัดเป็นอาณาเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็นบริเวณที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ได้โดยปราศจากอุปสรรคหรือภยันตรายใดๆ มณฑลเป็นพื้นที่ที่อันกว้างใหญ่ไพศาล

          มณฑลเป็นแบบย่อของรูปภูมิทั้งในแง่สัมพันธ์และบูรณาการของสรรพสิ่ง มณฑลเป็นภาพลักษณ์ของจักรวาลทั้งหมด ผสมกลมกลืนภายในสภาวะตถาคตอันไม่เปลี่ยนแปลงนั้น ภายในอาณาเขตของมณฑลโลกย่อมปรากฏในสภาวะบริสุทธิ์ตามที่มีอยู่ดั้งเดิม และปราศจากมลทิน อบอวลไปด้วยคุณธรรม และคุณลักษณะทั้งหลายของพระพุทธเจ้า         


ภาพที่ 14: Dhammakaya Media Channel.  มหาธรรมกายเจดีย์มีมณฑล ซึ่งใช้ในการประกอบพิธีกรรม เป็นศูนย์กลาง และเป็นสถานที่การปฏิบัติธรรม ล้อมวงกลมด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้วยวิหารคด [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://www.dmc.tv

    จากการศึกษาวิเคราะห์แผนผังพระสถูปเจดีย์ที่เป็นมณฑลขององค์มหาธรรมกายเจดีย์ซึ่งมีเนื้อที่กว่า ตารางกิโลเมตรนี้ สามารถบรรจุพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา และประพฤติปฏิบัติธรรมได้มากกว่าหนึ่งล้านคน สอดคล้องอยู่บนหลักการสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัสล้อมรอบวงกลม มีจุดศูนย์กลาง สิ่งที่ล้อมรอบชัดเจน เรียกกันว่า มหาวิหารคด ตรงตามหลักการที่ใช้สร้างพระสถูปเจดีย์มาตั้งแต่สมัยโบราณนานมาแล้ว ดังภาพที่ 13 (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริผู้แปล, 2541 133 - 179)

    4.1.5 อาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์

        4.1.5.1 เส้นกรอบของจัตุรัส ที่กำหนดขึ้นในพิธีกรรมได้แยกพื้นที่จักรวาลออกมาจากสภาวะไร้ระบบที่อยู่โดยรอบ บริเวณที่เส้นกรอบกันไว้ถือเป็นพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์แยกส่วนออกจากพื้นที่สามัญ แบบอย่างดั้งเดิมของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอินเดียทั้งทางพระพุทธศาสนาและไม่ใช่ก็ตาม เป็นบริเวณที่ล้อมรอบด้วยกำแพงหรือรั้ว และมีต้นไม้อันศักดิ์สิทธิ์และหินแท่นบูชาอยู่ภายใน สัญลักษณ์ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คือต้นโพธิ์ เรียกว่าเป็นเจดีย์พฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์แทนการประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ต้นไม้ก็เทียบได้กับพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นแกนของโลก รั้วก็แสดงถึงขอบเขตของจักรวาล ทำให้เกิดอาณาเขตที่เป็นโพธิมณฑลหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จากภาพจะแสดงให้เห็นว่ามหาธรรมกายเจดีย์นั้นได้แยกพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (พื้นที่พิธีกรรมหรือ ลานธรรม) ออกมาจากพื้นที่สามัญทั่วไปด้วยการสร้างมหารัตนวิหารคดล้อมรอบ และการมีอยู่ของพระพุทธองค์ก็แทนด้วยองค์พระเจดีย์ที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานมากกว่าสามแสนองค์ เป็นเสมือนบริเวณแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์และผู้ที่มาร่วมกันประพฤติปฏิบัติธรรม ณ พื้นที่อันบริสุทธิ์แห่งนี้

          4.1.5.2 สถานที่ตรัสรู้และวัชรอาสน์ เป็นบริเวณที่พระพุทธเจ้าในอดีตทุกพระองค์ต้องครอบครอง และเป็นที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ประทับในวันที่สำเร็จพระโพธิญาณ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เด่นของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ วัชระจึงหมายถึงความมั่นคงถาวรแห่งพระโพธิญาณทั้งปวงซึ่งสอดคล้องกับจุดศูนย์กลางของพื้นที่ของจักรวาล วัชระจึงเป็นสัญลักษณ์ของแกนกลาง พระพุทธองค์เป็นผู้ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งกลางจักรวาลนี้ย่อมมีความมั่นคงที่สุด ณ มหาธรรมกายเจดีย์นอกจากจะมีพระพุทธรูปสีทองกว่าสามแสนองค์ ที่ประดิษฐานบนส่วนโดม และเชิงลาดของพระเจดีย์แล้ว ทั้งยังมีพระบรมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่หล่อด้วยเงินบริสุทธิ์หนัก 14 ตัน ประดิษฐานเป็นประธานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อย่างมั่นคงถาวรอยู่บนแกนกลาง ใจกลางโดมอันเป็นจุดศูนย์กลางของมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งถือได้ว่าทรงโดมนั้นแทนสัญลักษณ์ของจักรวาล หรือ พระนิพพานก็ว่าได้ จะสอดคล้องกับหลักการอาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์ จึงสามารถแทนซึ่งสถานที่ตรัสรู้และวัชรอาสน์ได้

        4.1.5.3 สัญลักษณ์ของหรรมิกา คือ ส่วนที่สร้างอยู่บนยอดโดมหรือยอดหอเจดีย์ แสดงบริเวณที่แกนกลางโผล่ขึ้นมาจากภายในโครงสร้าง ซึ่งหรรมิกามีทั้งที่เป็นเจดียพฤกษ์ที่โผล่ขึ้นมาจากโดมของพระสถูปตรงกลาง และที่เป็นโพธิมณฑลแสดงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น บนยอดยอดเขาพระสุเมรุ เป็นศูนย์กลางจักรวาล เป็นที่ตั้งของโพธิมณฑลซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุพระโพธิญาณเป็นที่ซึ่งพระองค์เผยแผ่พระธรรมชั่วนิรันดร์ และเป็นที่ซึ่งพระองคส่องสว่างประดุจพระอาทิตย์ไปยังโลกทั้งหลาย (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริ, 2541. 190 – 198) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์พฤกษ์ วัชรอาสน์ และหรรมิกา ด้วยหลักการเดียวกันคือ เปรียบได้เทียบเท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพิจารณาองค์มหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งยังมีการประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำบนยอดโดมสุดของพระมหาเจดีย์ ตรงกลาง และเป็นตำแหน่งบนสุดของยอดโดมขององค์มหาธรรมกายเจดีย์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งพระวรกายอันประเสริฐสุดของพุทธภาวะ นั่นคือ พระพุทธรูปซึ่งเป็นพระธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ซึ่งบนยอดโดมนี้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปที่ทำด้วยวัสดุทองคำแท้ อันเป็นตัวแทนของเจดีย์พฤกษ์ วัชรอาสน์ หรรมิกา และเม็ดน้ำค้าง (Pinnacle) ของพระพุทธเจดีย์ทรงใดๆ ก็ตามที่แสดงไว้ด้วยฉัตร ดวงแก้ว หรือดอกบัวตูม เหล่านี้เป็นต้น ดังภาพที่ 14 (เกษมสุข ภมรสถิตย์, 2544 : 35)


ภาพที่ 15Dhammakaya Media Channel. แสดงองค์พระปฏิมากรสร้างด้วยทองคำ 1 ในล้านองค์ ประดิษฐานอยู่บนสุดโดมและภายในของมหาธรรมกายเจดีย์เป็นองค์แทนวัชรอาสน์ เจดีย์พฤกษ์ หรรมิกา และเม็ดน้ำค้าง [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://www.dmc.tv

    4.1.6 สัญลักษณ์แห่งเสาหลัก

    เสาหลักของโครงสร้างพระสถูปเจดีย์จะเป็นเสาแกนที่ตั้งฉากตรงศูนย์กลางองค์พระสถูปเจดีย์ เสาหลักนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของแกนโลก (Axis Mundi) และเป็นเส้นเชื่อมต่อโลกนี้กับจุดกึ่งกลางของภพภูมิอื่นๆ และเป็นจุดร่วมและจุดหลักที่เป็นแหล่งกำเนิด เพื่อเป็นวิถีทางที่จะเดินทางกลับไปสู่ต้นกำเนิดของมนุษย์ได้ เสาแกนนี้จึงเป็นบันไดที่จะปีนให้พ้นจากพันธนาการและข้อจำกัดของโลกแห่งวัตถุขึ้นไปสู่โลกที่เป็นอิสระและไร้ขอบเขตจำกัดที่อยู่สูงขึ้นไปจากเวลาและสถานที่ และในขณะเดียวกันเสาแกนก็เป็นช่องทางให้กระแสสัจธรรมไหลลงมายังโลกภูมิอันเป็นมายา กระแสธารสัจธรรมนี้เป็นสิ่งที่ทำให้โลกมีความหมาย ทำให้สิ่งจำกัดได้รู้จักสิ่งอันไร้ขอบเขต และทำให้กาลเวลาได้พบกับนิรันดร ดังภาพที่ 15 แต่จะทำการศึกษาโดยเฉพาะในพระพุทธศาสนาดังนี้ 


ภาพที่ 16: การบูชาพระพุทธเจ้าเป็นเสาเพลิง ศิลปะเมืองอมราวดีอินเดีย [Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://www.oknation.net/blog/print.php?id=777968

        4.1.6.1 เสาและกำเนิดของจักรวาล ในคัมภีร์พระเวทมีการบรรยายกำเนิดจักรวาลว่า มีเสามาแบ่งแยก” สวรรค์และโลก สวรรค์และโลกถูกแบ่งแยกออกจากกัน เนื่องจากมีเสานี้มากั้นกลาง” ถ้าเปรียบเทียบเสาแกนนี้ก็เหมือนลำแสงพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ ในความมืดมิดแห่งราตรีกาล ไม่สามารถแยกท้องฟ้าออกจากผืนดิน หากเมื่อพระอาทิตย์ฉายลำแสงแรกแห่งรุ่งอรุณก็จะ แยกท้องฟ้าและผืนโลกที่เคยร่วมอาณาเขตเดียวกันออกจากกันจนกลายเป็นภพที่แตกต่างกัน” การแบ่งแยกสวรรค์กับโลกออกจากกันด้วยเสาหลักแห่งพระอาทิตย์เป็นเรื่องสอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่จักรวาล

       4.1.6.2 เสาแกนในพระพุทธศาสนา ถือเป็นเสาแกนแห่งจักรวาล และเป็นรากฐานการดำรงอยู่ของจักรวาล เป็นการกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระพุทธองค์ก็เช่นกัน คือทรงเป็นเสาเพลิง ลุกโพลงด้วยพลังงานอันร้อนแรง” เป็นพลังอัคนีที่ปรากฏในยมกปาฏิหาริย์เมื่อครั้งทำให้พวกกัสสปะสามพี่น้องกลับใจมายอมรับพระองค์ และเมื่อพระองค์ประทับเหนือพระพรหมบนแกนจักรวาลในบรรดาภาพสลักนูนจากเมืองอมราวดี จะเห็นภาพเสาเพลิงเป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริผู้แปล, 2541202– 224เมื่อศึกษาและวิเคราะห์เรื่อง เสาหลักหรือเสากลาง ที่เป็นแกนกลางขององค์มหาธรรมกายเจดีย์ เป็นการแยกให้ภพภูมิระหว่างอาตยนนิพพานและโลกมนุษย์ แต่เมื่อมีองค์พระพุทธรูปมาประดิษฐาน ณ แกนกลางนี้เป็นถือได้ว่าเป็นการเชื่อมต่อด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างมนุษย์และอายตนนิพพาน ผ่านทางสายกลางอันถือว่าเป็นแกนกลางของจักรวาล ด้วยการปฏิบัติธรรม ดังภาพที่ 16 


ภาพที่ 17: Dhammakaya Media Channel.  แสดงพระพุทธปฏิมากรณ์ประดิษฐานอยู่แกนกลางมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่มีพระพุทธเจ้ามากมาย เชื่อมระหว่างภพมนุษย์กับอายตนนิพพาน[Online].  Accessed 30 September 2014.  Available on http://www.dmc.tv

    4.1.7 สัญลักษณ์แห่งโดม

        4.1.7.1 โดมฐานะเป็นศูนย์กลางและภาชนะบรรจุจักรวาล

      โครงสร้างส่วนใหญ่ของรูปทรงพระสถูปเจดีย์อินเดียจะเป็นโดมทรงครึ่งวงกลมผ่าซีก คัมภีร์พุทธศาสนาได้กล่าวถึงโดมนี้ว่า เป็นครรภ ครรภ์” “ตัวอ่อน” “ภาชนะ” หรือ หรือบางทีเปลี่ยนไปมากับคำว่า อัณฑะ” “ไข่” ด้วยเหตุนี้พระสถูปเจดีย์จึงมีนามว่า ธาตุ – ครรภ หรือ ครรภ์แห่งธาตุ” ซึ่งเป็นรากศัพท์ของนามพระสถูปเจดีย์ที่พบทั่วไปในศรีลังกา คือ ทะโคพะ โดยสัญลักษณ์โดมมีความหมายสองนัยยะ กล่าวคือ ความหมายหนึ่ง ใจกลางสุดของจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นจักรวาลส่วนรวมหรือส่วนย่อย และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึงขอบเขตจักรวาล ซึ่งเป็นได้ทั้งจุดศูนย์กลางจักรวาล และภาชนะที่บรรจุจักรวาล ในขณะเดียวกัน สัญลักษณ์แต่ละอย่างเปรียบได้กับธุลีอณูที่ เล็กกว่าเมล็ดข้าวสาร เล็กกว่าเมล็ดข้าวบาร์เลย์ เล็กกว่าเมล็ดมัสตาร์ด เล็กกว่าเมล็ดข้าวฟ่าง” แต่ในขณะเดียวกันก็ ใหญ่กว่าโลก กว้างใหญ่กว่าบรรยากาศ ใหญ่กว่าท้องฟ้า ใหญ่กว่าภพภูมิต่างๆ รวมกัน” เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดและใหญ่ที่สุดในขณะเดียวกัน

           4.1.7.2 ครรภ (ครรภ์) และไข่ (อัณฑะ)

       ตถาคตครรภ นี้เป็นตัวอ่อนทางจิตวิญญาณที่สถิตอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งปวง จึงมีคำกล่าวว่า ทุกชีวิตเป็นครรภแห่งพุทธภาวะ” ดังนั้นตถาคตครรภ ก็คือ ตถตา หรือธาตุพุทธะที่ซ่อนอยู่ภายในกายมนุษย์ทุกคน เป็นแกนค้ำจุนจิตประพฤติที่เป็นต้นกำเนิดแห่งเอกจิตของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ โดยธรรมชาติแล้ว ตถาคตครรภ สุกใสบริสุทธิ์ไร้ราคี ประกอบด้วยลักษณะอันประเสริฐ 32ประการ ซ่อนอยู่ในกายมนุษย์ประดุจอัญมณีอันมีค่า แต่ถูกหุ้มห่อด้วยเครื่องนุ่งห่มอันสกปรก (อันได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และคลุกเคล้าด้วย โลภะ โทสะ โมหะ) พุทธภาวะซึ่งหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนลี้ลับที่สุดของจิตใจมนุษย์ ถูกปกคลุมห่อหุ้มด้วยความเห็นผิด ทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง ด้วยความหลงยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเกิดจากความหลงผิดว่าสรรพสิ่งเป็นนิรันดร์ มรรควิถีของพระพุทธเจ้าคือการชำระสิ่งสกปรกที่ห่อหุ้มนั้นเสีย เพื่อให้จิตประภัสสรดังอัญมณีที่ซ่อนอยู่ภายใน (รัตนะตรัย) เข้าสู่การตรัสรู้ธรรม (ภัทรพร สิริกาญจน และธรรมเกียรติ กันอริผู้แปล, 2541: 230-261)

            4.1.7.3 ดวงธรรม เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม

       ด้วยความรู้จากการปฏิบัติธรรม เป็นเหตุผลทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างพระพุทธเจดีย์ให้มีรูปร่างที่สามารถเตือนผู้คนทั้งหลายให้นึกคิดได้ ซึ่งในเบื้องต้นผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าถึง ดวงธรรม” ก่อนเป็นพื้นฐาน แต่เนื่องจากการสร้างทรงกลมให้ตั้งหรือวางนิ่งๆ อยู่บนพื้นราบนั้นเป็นเรื่องยากมาก จึงทรงสร้างเป็นรูปทรงโดมแทน ดังเช่นพุทธเจดีย์สาญจิที่เชื่อกันมาแต่เดิมสร้างอยู่กลางห้วงน้ำ หรือ สร้างแล้วขุดให้มีน้ำล้อมรอบเพื่อให้น้ำสะท้อนเงาโดมเข้าประชิดกับโดมตัวจริงแล้วจะเกิดเป็นภาพของทรงกลม(ดวงธรรม) ที่สมบูรณ์ ทรงโดม (The Hemispherical Dome Stupa) จึงเป็นทรงที่ถูกเลือกใช้เป็นรูปของพุทธเจดีย์ในยุคที่พระพุทธศาสนายเพราะฉะนั้นรูปทรงของพระพุทธเจดีย์สมัยต่อมาจึงน่าจะเป็นไปได้ว่าสร้างมาจากหลักสำคัญ ดังภาพที่ 17 และ ภาพที่ 18 ดังนี้

              (1) สร้างตามอย่าง หรือ เพื่อสอดคล้องกับสาญจิเจดีย์

            (2) สร้างตามความเชื่อเรื่องของการปฏิบัติธรรม โดยเริ่มต้นจากศูนย์กลางกายเข้าสู่สภาวธรรม ที่เรียกว่า ดวงธรรม” ตรงนี้เป็นที่มาของการสร้างเจดีย์ทรงโดม เพราะดวงธรรมมีสัณฐานที่กลม เพื่อให้ระลึกว่าการเข้าหาตถาคตได้นั้นต้องผ่านดวงนี้ก่อน หรือ ตถาคตคัพภะ อันเป็นอู่ที่อยู่ของพุทธภาวะ ดังนั้นศูนย์กลางดวงธรรมหรือศูนย์กลางโดม เพื่อให้พุทธเจดีย์เป็นประหนึ่งองค์สัมบูรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามทฤษฎี The Legacy of the two Bodies ที่มีอยู่แล้วในสงฆ์ฝ่ายสรวาสติวาทเป็นมหาสังฆิกะ (พระที่มีจำนวนมากกว่า) ในยุคนั้น

                  
                         

ภาพที่ 18: Susheila Ghosal.  The Great Stupa on Budh Purnima, View of the west gate.  Sanchi Rediscovered.  India, New Delhi.  Magnum Books PVT, 2006: 108

    (3) สร้างตามความเชื่อในเรื่องของจักรวาทินที่เรียกกันว่า Cosmology เพราะโลกและจักรวาลทั้งปวงได้อาศัยอยู่ในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา (เกษมสุข ภมรสถิตย์, 2544 : 53-58)

                                                                                       

ภาพที่ 19: Dhammakaya Media Channel.  แสดงสัญลักษณ์รูปโดมของมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นสัญลักษณ์แสดงผลของการปฏิบัติธรรมและตถาคตคัพภะ [Online].  Accessed on 30 September 2014.  Available on  www.dmc.tv

        (3) สร้างตามความเชื่อในเรื่องของจักรวาทินที่เรียกกันว่า Cosmology เพราะโลกและจักรวาลทั้งปวงได้อาศัยอยู่ในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา (เกษมสุข ภมรสถิตย์, 2544: 53-58)                                    

        จากการศึกษาวิเคราะห์สัญลักษณ์รูปโดมบนมหาธรรมกายเจดีย์ มีนัยยะของการเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล และในขณะเดียวกันก็ยังเป็นขอบเขตของจักรวาลด้วย และที่สำคัญ คือเรื่องของตถาคตครรภ อันใสบริสุทธิ์ ประกอบด้วยกายลักษณะอันประเสริฐ 32 ประการ ซ่อนอยู่ในกายมนุษย์ประดุจอัญมณีอันมีค่า แต่ถูกหุ้มห่อด้วยเครื่องนุ่งห่มอันสกปรก (อันได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และคลุกเคล้าด้วย โลภะ โทสะ โมหะ) มรรควิถีของพระพุทธเจ้าคือการชำระสิ่งสกปรกที่ห่อหุ้มนั้นเสีย เพื่อให้จิตประภัสสรดังอัญมณีที่ซ่อนอยู่ภายใน (รัตนะตรัย) เข้าสู่การตรัสรู้ธรรม นั่นคือการเข้าไปยังจุดศูนย์กลางของจักรวาล หรือของใจมนุษย์นั้น ซึ่งเป็นการแสดงสิ่งที่เป็นนามธรรม ออกมาเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนดังคำสอนของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย อันเป็นทางสายกลาง มุ่งตรงสู่หนทางพระนิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้                         

        มหาธรรมกายเจดีย์มีความสำคัญของต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งมีรายละเอียดเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้

               5.1 มหาธรรมกายเจดีย์จึงเป็นพุทธอนุสรณ์ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนาของยุคสมัยนี้ ทั้งยังเป็นเครื่องบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ถาวรมั่นคง และต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยาวนานต่อไปในอนาคตอีกเป็นพันปี

               5.2 มหาธรรมกายเจดีย์เป็นประหนึ่งตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าพระพุทธองค์ไม่ทรงดำรงไว้ซึ่งพระวรกายแล้ว แต่องค์พระพุทธเจดีย์นี้ยังเป็นเครื่องเตือนให้รำลึกถึงพระองค์ได้ เป็นเครื่องชูขวัญกำลังใจให้สาธุชนทั้งหลายมีความรู้สึกว่าได้อยู่ใกล้พระพุทธองค์และเข้าถึงพระพุทธองค์ได้ เตือนให้ทำความดีสั่งสมบุญบารมีตามพระพุทธองค์ไป

               5.3 มหาธรรมกายเจดีย์เป็นทั้งหมดของพระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นการจำลองหลักพุทธธรรมให้มาเป็นรูปธรรม ถูกทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระธรรมคำสอนไปได้อย่างกว้างไกลมากยิ่งขึ้นเพราะมีพุทธศาสนิกชนนับล้านคนจากทั่วทุกมุมโลกได้เดินทางประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกันอย่างตลอดต่อเนื่องไม่ขาดสาย

               5.4 การร่วมสถาปนาการแสดงเคารพกราบไหว้บูชา ตลอดจนการบูรณปฏิสังขรณ์พุทธเจดีย์ เป็นเสมือนเป็นหนทางตรงในการสร้างบุญบารมีเพื่อกำจัดอาสวะกิเลสหลุดหมดออกไปจากใจ มุ่งสู่หนทางของพระนิพพาน ลดระยะเวลาของการเดินทางในสังสารวัฏแห่งทุกข์นี้ได้

               5.5 มหาธรรมกายเจดีย์เป็นที่กราบไหว้ของสาธุชนทั้งหลาย ตราบใดที่สาธุชนชนคนทั่วไปยังมีโอกาสกราบไหว้หรือได้เห็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาอยู่ย่อมแสดงว่า สาธุชนเหล่านั้นยังมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์ ต่อพระพุทธศาสนา ยังตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้เสมอ และเป็นการตอกย้ำความยั่งยืนของพระพุทธศาสนากับอนุชนรุ่นหลังต่อไปเป็นพันปี

               5.6 การสร้างพระพุทธเจดีย์เป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยาวนาน ให้ดำรงถาวรมั่นคงถือเป็นคุณงามความดีเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะมหาธรรมกายเจดีย์ที่อยู่บนพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการประพฤติธรรม และมีคุณค่าทางจิตใจก่อให้เกิดความเคารพศรัทธา ก่อให้เกิดความสงบแห่งจิตใจเมื่อได้กราบไหว้บูชา คนไปไหว้พระพุทธเจดีย์นี้เพราะต้องการที่พึ่งให้เกิดความสงบแก่จิตใจซึ่งจะสามารถพัฒนาจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

        มหาธรรมกายเจดีย์จึงเป็นพุทธสถานที่ใช้ฝึกฝนตนสร้างคนดี เป็นมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมชั้นเลิศของโลก โลกจะวิวัฒนาการไปอย่างไร หากจิตใจมนุษย์ไม่พัฒนาตาม โลกก็ยังอยู่ในห้วงแห่งความวิบัติอยู่ดี การอบรมศีลธรรม เป็นมรรคาวิเศษสุดที่จะทำให้โลกมนุษย์ร่มเย็นด้วยความฉ่ำเย็นในจิตใจมวลมนุษย์ แล้วแผ่ขยายกระแสธรรมอันบริสุทธิ์ ให้ขจรขจายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุกๆ กิจกรรม ทุกๆ วินาที ณ มหาธรรมกายเจดีย์นี้ คือการอบรมศีลธรรมแก่ชาวโลกทั้งมวล ผู้มุ่งหวังความสำเร็จพึงเลื่อมใสพระเจดีย์ ผู้มุ่งหวังความหลุดพ้นพึงนบนอบต่อพระเจดีย์ เป็นการบูชาพระรัตนตรัย เป็นการสั่งสมความบริสุทธิ์ตามพุทธวิธี อันยังสันติสุขภายในสู่สันติภาพในโลกไม่ช้

บทสรุป

    จากการศึกษาพบว่ามหาธรรมกายเจดีย์ถูกสร้างมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เป็นพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนาองค์หนึ่ง มีความเป็นพระสถูปเจดีย์ปรากฏอยู่ ซึ่งสอดคล้องเกี่ยวเนื่องตามวัตถุประสงค์ของการสร้างพระสถูปเจดีย์ รวมทั้งรูปทรงของพระพุทธเจดีย์นั้นตรงตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยตรัสไว้ และเมื่อทำการเปรียบเทียบรูปทรงของพระสถูปเจดีย์ดั้งเดิมทั่วไปที่ก่อสร้างมาก่อนหน้าเป็นกว่าพันปีก็ไม่แตกต่างกันในหลักการสำคัญ

    โดยมีความสัมพันธ์ตามทฤษฎีของการสร้างพระสถูปเจดีย์ (The Symbolic of the Stupa) อันได้แก่ สัณฐานตามพื้นที่ของพระสถูปเจดีย์การกำหนดเขตพิธีกรรมของแผนผังพระสถูปเจดีย์การแผ่กระจายพระวรกายของพระพุทธเจ้าแผนผังพระสถูปเจดีย์ที่เป็นมณฑลอาณาเขตอันศักดิ์สิทธิ์สัญลักษณ์แห่งเสาแกนสัญลักษณ์แห่งโดม และการใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับโครงสร้าง เป็นต้น ตามทฤษฎีด้านเจดีย์วิทยาของ Prof. Dr. Adrian Snodgrass ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญ จนได้รับการยอมรับความเป็นหนึ่งในแวดวงนักวิชาการทางด้านเจดีย์ศึกษาในระดับสากล นักเจดีย์วิทยาจึงต้องนำทฤษฎีเหล่านี้มาอ้างอิงเป็นหลักเสมอ

        สุดท้ายนี้มหาธรรมกายเจดีย์นอกจากจะเป็นพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์มีไว้สำหรับกราบไหว้เคารพบูชาแล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติขนาดใหญ่ เป็นหลักฐานสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งต่อการเผยแผ่พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาสืบไปอีกยาวนานนับเป็นพันปี



บรรณานุกรม


เอกสารภาษาบาลี-ไทย

เอกสารชั้นปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500.  พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปี 2539

________________________.  พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.ปี2539

มหามกุฎราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยพิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร:มหามกุฏราชวิทยาลัยปี 2534.


เอกสารชั้นทุติยภูมิ

คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาชั้นหลังพระไตรปิฎก

พระธรรมมหาวีรานุวัตรมิลินทปัญหา ฉบับพร้อมด้วยอรรถกถา ฎีกา.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร ลูก ส.ธรรมภักดีปี 2509

                หนังสือ

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป..9, ราชบัณฑิต).  คำวัด พจนานุกรรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์พิมพ์ครั้งที่ 1.   กรุงเทพมหานคร :เลี่ยงเชียงปี 2548.

ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร. 5 มหาเจดีย์สยามพิมพ์ครั้งที่ 1นนทบุรี มิวเซียมเพรสปี 2554.

พระธรรมปิฎก (.ปยุตฺโต).  พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพิมพ์ครั้งที่ 9.  กรุงเทพมหานคร มหาจุฬาลงกรณราชวิทลัยปี 2543

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.  ตำนานพุทธเจดีย์.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร มติชนปี 2545

ศาสตราจารย์ ดรสันติ เล็กสุขุม.  เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพมหานคร มติชนปี 2540

สมคิด จิระทัศนกุล.  วัดพุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย.  กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2544

กรมศาสนา.  แนะนำสังเวชนียสถานและพุทธสถาน อินเดีย – เนปาล.  พิมพ์ครั้ง 4.  กรุงเทพมหานคร กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาปี 2552

เกษมสุข ภมรสถิตย์.  เล่าเรื่องเจดีย์เจดีย์ศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  เหตุกำเนิดพระเจดีย์.  กรุงเทพมหานคร บ้านมธุระปี 2544

_________________.เล่าเรื่องเจดีย์เจดีย์ศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 1.  อโศกธรรมราชา ผู้ทำให้พุทธศาสนเจดีย์รุ่งเรือง.กรุงเทพมหานคร : บ้านมธุระ. ปี 2544

_________________.     เล่าเรื่องเจดีย์เจดีย์ศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 1.  พุทธเจดีย์กับการพัฒนาและปรัชญารองรับ.กรุงเทพมหานคร: บ้านมธุระ. ปี 2544

_________________.   เล่าเรื่องเจดีย์เจดีย์ศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 1.  สาญจิ พุทธเจดีย์ยุคต้น.  กรุงเทพมหานคร : บ้านมธุระ. ปี 2544

_________________.     จุดกำเนิดและที่มาของพุทธศาสนเจดีย์.   พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร: บ้านมธุระ. ปี 2544

เสฐียร พันธรังษี.  ศาสนาเปรียบเทียบ.  พิมพ์ครั้งที่ 9.  กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปี 2554

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ.  สังคมวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 10.  กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปี 2545.

ราชบัณฑิตยสถาน.  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.2542.  กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ปี 2546.

Benedict Anderson, รศดร.ภัทรพร สิริกาญจน และ ธรรมเกียรติ กันอริ.  สัญลักษณ์แห่งพระสถูป.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร อมรินทร์วิชาการปี 2541.

. ณ ปากน้ำความเป็นมาของสถูปเจดีย์ในสยามประเทศ.  กรุงเทพมหานคร:เมืองโบราณ.. ปี 2529

ชิว ซูหลุน.  ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร มติชนปี 2549

            วิทยานิพนธ์

พระมหาคำสิงห์สีหนนฺโท(กองเกิด).ศึกษาเรื่องเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทวิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปี 2555

การสัมภาษณ์และการบรรยาย

นายนิคม มุสิกะคามะอธิบดีกรมศิลปากร.  บทสัมภาษณ์,  วันอาทิตย์ 31 มกราคม พ.2542.

เอกสารภาษาต่างประเทศ

    หนังสือ

Adrian Snodgrass.The symbolism of the Stupa.First Edition.India, DelhiShri Jainendra Press.1992

H. Kern. Saddharma Puṇḍarīka Sūtra or the Lotus of the True Law. The United Kingdom, Oxford: Clarendon Press. 1884

Hermann Oldenberg. The Religion Of The Veda. Delhi: Motilal Banarsidass. 1988.

Meena Talim.  Edicts of King Aśoka. India, New Delhi: ABI Prints & Publishing. 2010

Susheila Ghosal. Sanchi Rediscovered. India, New Delhi: Magnum Books PVT. 2006

Sir John Marshall and Alfred Foucher.  The monuments of Sanchi. Volume I. Second Reprinted. India, New Delhi: Swati Publications. 1983

___________________________________.  The monuments of Sanchi. Volume II. Second Reprinted. India, New Delhi : Swati Publications. 198

___________________________________.  The monuments of Sanchi. Volume III. Second Reprinted. India, New Delhi : Swati Publications. 1983






Comments

Popular posts from this blog

Mañjuśrī: Bodhisattva

Tripura Sundarī: Lalita Maha Tripura Sundari

“เนื้อนาบุญ” ในพระพุทธศาสนา