ทำไม!!! ทางธรรมต้องสอนให้รวยด้วย

ผมก็เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง 
มีความรักและศรัทธาอย่างยิ่งในคำสอน 
 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ได้ทรงตรัสสอนให้คนเรานั้น 
"ละ" เสียซึ่งอาสวะกิเลสที่เป็นต้นเหตุ 
เกิดแห่งทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง 
ส่วนตัวผมเองก็เคยมีข้อสงสัย
และได้มีโอกาสทำการศึกษาเบื้องต้นจนพบว่า


  • จะทำการ "ละ" กิเลสได้อย่างไร
ละด้วยการสร้างบุญกริยาวัตถุ 3 ประการ (ปุญญกิริยาวัตถุสูตร: ขุ.อิติ. ติกนิบาต มก. 45/386)
  • แล้วจะ "หมดกิเลส" ได้เมื่อไหร่ 
จนกว่าบุญนั้นเข้มข้นมากพอ กลั่นตัวจนเป็นบารมี กระทั่งเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ทั้ง 10 ประการ ครบทั้ง ระดับ รวมเป็น 30 ทัศ (ชาตกัฏฐกถา: ขุ.ชา. อปัณณกวรรค มก.55/33, ขุ.อป. พุทธวรรค มก. 70/48) 
  • ต้อง"ใช้เวลานาน" เท่าไหร่  
หนทางสู่พระนิพพานยังอีกแสนยาวไกลนัก หาเบื้องต้น เบื้องปลาย ไม่สามารถกำหนดที่สิ้นสุดได้ (ติณกัฏฐสูตร: สัง.นิ. อนมตัคคสังยุต มก. 26/506)  
  • แล้วจะทำอย่างไร
สร้างแต่กุศลกรรมล้วนๆ งดเว้นจากอกุศลกรรมทั้งหลายทั้งปวง ทำใจให้ผ่องใสด้วยการสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดตลอดทุกครั้งที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ (บุญกิริยาวัตถุสูตร: อัง.อัฏฐก. ทานวรรค มก. 37/484)  
  • แล้วมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 
รักษาศีล หลักประกันความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ปรมัตถโชติกา: ขุ.ขุ. มก. 39/37) 
  • แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะได้เจอกับพระพุทธศาสนา  
แสวงบุญในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ว่าด้วยผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก (อาหุเนยยสูตร: อัง.นวก. สัมโพธิวรรค มก. 37/736) 
  • พระพุทธศาสนาของเรานี้ มีได้ทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ 
พระพุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้นเท่านั้น บางยุคสมัยก็มีบังเกิด แต่บางยุคก็ไม่มี ยกตัวอย่างยุคสมัยของพวกเรานี้ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดถึง พระองค์ (พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2, พุทธวงศ์ จริยาปิฎก หน้าที่ 592-724)
  • ยาวนานขนาดไหน  
ยาวนานมาก เว้นช่วงห่างอย่างน้อยที่สุดนี้ คือยุคสมัยของพระศรีอริยเมตไตยพุทธเจ้า แค่อีกประมาณสองอสงไขยกัปเท่านั้นเอง หลังจากนี้จะยังไม่มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดอีกยาวนาน (ปัพพตสูตร: สัง.นิ.อนมตัคคสังยุต มก. 26/513) 
  • ช่วงเว้นว่างนั้นเราจะไปอยู่ไหนกัน 
นรกสำหรับคนเผลอพลาดไปทำบาป สวรรค์สำหรับคนตั้งใจทำแต่ความดี (อปัณณกสูตร: ม.ม.คหปติวรรค มก. 20/223) 
  • ลองยกตัวอย่างเทวดาชั้นดุสิต
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 400 ปีมนุษย์เป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนี้/30 ราตรีเป็นหนึ่งเดือน/12 เดือนนั้นเป็นหนึ่งปี/ 4,000 ปีทิพย์นั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต" ถ้านับเป็นอายุมนุษย์ประมาณ 4,000 x 30 x 12 x 400 ปีมนุษย์ ซึ่งก็เท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์ จะเห็นว่ายังน้อยกว่าอสงไขยกัปมากนัก (วิตถตสูตรอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อที่ 132 หน้า 505-506
  • แล้วเกิดบุญหมดก่อน 
ก็อาจจะโชคร้ายเกิดช่วงสุญญกัป ที่ไม่มีคำสอนของพระสัมสัมพุทธเจ้าอยู่เลย ไม่มีแม้พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ เราก็อาจจะเผลอพลาดทำชั่วตกนรกได้ง่ายอีก กว่าจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ รู้จักบุญบาป ดีชั่ว ก็อีกนานแสนนานเลยทีเดียว (ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ปี 2552, หน้า 289) 
  • ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้หมดบุญก่อนเวลา
การประกอบบุญบารมีทั้งสิบประการข้างต้นให้ยิ่งยวด เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ทุกวินาทีที่เป็นมนุษย์ จะได้ไม่ขาดทุนของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อบุญบารมีมากพอก็สามารถพิจารณาการเลือกเกิดได้ ดังเช่นพระโพธิสัตว์ในกาลก่อน ซึ่งเป็นต้นแบบในการสร้างบารมีให้กับเรา (พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 14 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 6 ,มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, สุญญวรรค อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร หน้าที่ 235-242)  
  จากการศึกษาเบื้องต้น พอจะสรุปให้เห็นได้ว่า เรานั้นจะต้องมีบุญบารมีมาก จึงพอจะรอดพ้นจากภัยในวัฏฏะสงสารแห่งนี้ได้ บุญนั้นเป็นเครื่องชำระล้างใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งถือเป็นอริยทรัพย์ (อันเกิดจากการทำความดีล้วนๆ)ที่ติดตัวเราไป เสมือนเป็นเสบียงที่ใช้ในการเดินทางไกลข้ามพ้นวัฏฏสงสารแห่งนี้ เพื่อไปยังเป้าหมายอันสูงสุดคือการหมดกิเลสเข้านิพพานด้วย ซึ่งต่างจากโลกียทรัพย์ (ที่อาจจะได้มาจากความชั่วหรือความดีก็ได้) หลังจากความตายแล้วก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ซึ่งการมีทรัพย์มากๆนั้น หลักสากลจึงเรียกสั้นว่า “รวย” (ความรวยจึงแบ่งได้ แบบ คือ รวยอริยทรัพย์ กับ รวยโลกียทรัพย์) 
  นักสร้างบารมีตัวจริงที่ถูกหลักวิชชานั้น จะเลือกรวยแบบที่หนึ่งกันมากกว่า สรุปสั้นๆ คือพระท่านสอนให้เราไปรวยบุญรวยบารมีกัน สุดท้ายบุญตัวนี้เองก็จะมาชำระล้างใจของเรา ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ และหมดกิเลสไปได้ในชาติสุดท้ายทีเกิดมา ดังตัวอย่างบุคคลสำคัญต่างๆ มากมายปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกให้เราได้มาศึกษากัน  เราต้องการจะรวยกันแบบนี้หรือไม่แล้วแต่ตามใจปรารถนา 
   แต่ถ้าหากมีเราโลกียทรัพย์มาก ก็คงจะไม่เป็นเรื่องเสียหาย อะไร ถ้าทรัพย์นั้นหามาด้วยความบริสุทธิ์ เพราะจะได้นำทรัพย์ส่วนที่เหลือเกินความจำเป็นมาสงเคราะห์ธรรม แผ่ขยายร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาให้กว้างไกล และยาวนานต่อไปได้ ดังเช่น พระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงเป็นกษัตรานูปถัมภกพระองค์หนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญสนับสนุนให้พระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองมาถึงดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ด้วย เป็นต้น หรือจะนำทรัพย์เหล่านี้ไปสงเคราะห์โลก ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วๆไป เมื่อมีมากก็ย่อมเป็นสิ่งดีหากได้นำทรัพย์มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นทรรศนะส่วนตัว ความรวย จึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่เลวร้ายอะไรเลยทั้งทางโลกและทางธรรม
"ก้องภพ อารามบอย"

Comments

Popular posts from this blog

Sarasvati

Lakṣhmī: Goddess

An inscription from Issyk kurgan